Home > ข่าวสารสถานทูต
เปิดศักราชใหม่ของความร่วมมือ BRICS เขียนบทใหม่ในการพัฒนาก้าวหน้าของมนุษยชาติ
(โดยนายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย)
2022-06-28 16:15

วันที่ 22-24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม BRICS Business Forum ในกรุงปักกิ่งผ่านทางวิดีโอและกล่าวปาฐกถา  และเป็นประธานในการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 14 การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกกรอบความร่วมมือBRICS Plus และกล่าวสุนทรพจน์

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 16 ปีของการก่อตั้งกลไกความร่วมมือ BRICS และก็เป็น ปีแห่งประเทศจีนสำหรับBRICS ด้วย ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดงาน BRICS มากกว่า 170 งานในด้านต่างๆ ตลอดทั้งปี เฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกมีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีมากกว่า 20 ครั้ง งาน “BRICS+” แต่ละงานดึงดูดประเทศที่ไม่ใช่กลุ่ม BRICS มากกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ในปีนี้กิจกรรมในกลุ่ม BRICS จะบรรลุความสำเร็จ 37 รายการซึ่งจะเป็นการยกระดับของความร่วมมือ BRICS สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

ปัจจุบัน โลกกำลังเข้าสู่ช่วงใหม่แห่งความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในรอบร้อยปีผสมผสานกับโรคระบาดแห่งศตวรรษ ทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของโลกที่สลับซับซ้อน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความยากลำบาก และการพัฒนาของโลกกำลังเผชิญกับการพัฒนาที่ทวนกระแส ดังนั้น การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การพิทักษ์สันติภาพและความมั่นคงของโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติคือความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีวิสัยทัศน์กว้างไกลโดยยึดความผาสุกของมนุษยชาติเป็นเป้าหมายมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนของมนุษยชาติและได้นำให้การประชุม BRICS สร้างผลสำเร็จที่มีลักษณะเป็นการบุกเบิก ชี้นำ และเป็นไปตามกลไก ผลักดันการขยายความร่วมมือของ BRICS ในเชิงกว้างและลงลึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมพลังให้มีเสถียรภาพ สร้างสรรค์ให้กับ BRICS สร้างคุณูปการใหม่ๆ ต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก

——ตอบโจทย์ยุคสมัยอย่างลึกซึ้งร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ

โลกจะไปทางไหน?สันติภาพหรือสงคราม?พัฒนาหรือเสื่อมถอย?เปิดกว้างหรือปิดกั้น?ร่วมมือหรือเผชิญหน้า?นี่คือโจทย์ของยุคเรา ไม่ว่าสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร แนวโน้มทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาแบบเปิดกว้างจะไม่เปลี่ยนแปลง เราต้องเข้าใจกฎแห่งการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง กล้าเผชิญกับความท้าทาย และผลักดันการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างแน่วแน่

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่เรายู่นั้นมีการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพโดยภาพรวมมาโดยตลอด มีการสร้างกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางและได้กลายเป็นโอเอซิสแห่งสันติภาพของโลกอีกทั้งเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาในอัตราสูง สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย จีนจะสนับสนุนความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแน่วแน่ สนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาค และทำงานร่วมกับประเทศอาเซียนเพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญที่บรรลุถึงในการประชุมสุดยอดฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียนเมื่อปีที่แล้วโดยมีความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาของโลก ขจัดการแทรกแซง แบ่งปันโอกาส และเอาชนะความท้าทายร่วมกันเพื่อนำความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและทำงานร่วมกันเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งสันติภาพ สงบสุข เจริญรุ่งเรือง สวยงาม และมีมิตรไมตรีต่อกัน

——ปกป้องความยุติธรรมและความเป็นธรรมระหว่างประเทศร่วมกันพิทักษ์สันติภาพและความสงบสุขของโลก

ประสบการณ์ในอดีตย่อมเป็นสิ่งที่เตือนใจคนรุ่นหลังที่ดี ประวัติศาสตร์อันน่าสลดใจของสงครามโลกสองครั้งและการเผชิญหน้าในสงครามเย็นแสดงให้เห็นว่าลัทธิครองความเป็นเจ้า การเมืองแบบแบ่งกลุ่มและการเผชิญหน้าโดยการแบ่งค่ายจะไม่ทำให้เกิดสันติภาพและความมั่นคง แต่จะนำไปสู่สงครามและความขัดแย้งเท่านั้น วิกฤตการณ์ในยูเครนส่งเสียงเตือนชาวโลกอีกครั้งว่าความหลงเชื่อสถานะอำนาจของตนและการขยายพันธมิตรทางทหาร การแสวงหาความมั่นคงของตนเองโดยแลกกับความมั่นคงของประเทศอื่นๆ จะนำไปสู่ภาวะที่ยากลำบากด้านความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบัน บางประเทศได้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยร่างกายแต่หัวสมองยังอยู่ในยุคสงครามเย็น เมื่อเจอกับการขาดความสมดุลในการปกครองภายในประเทศ ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างมากขึ้น และการแบ่งขั้วทางการเมือง พวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้ แต่เร่งดำเนินยุทธศาสตร์การกีดกันในระดับโลก ยั่วยุการเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจรังแกประเทศขนาดกลางและขนาดเล็กและก่อกวนโลกทั้งใบจนไม่มีความสงบสุข

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกในสุนทรพจน์ที่ประชุเอเชียโป๋อาว (Boao Forum for Asia) ประจำปีนี้ จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนกลุ่ม BRICS เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลก และเพื่อบุกเบิกเส้นทางการรักษาความมั่นคงแบบใหม่ที่เน้นการเจรจาแต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า การเป็นหุ้นส่วนแต่ไม่ใช่การเป็นพันธมิตร และชนะด้วยกันแต่ไม่ใช่ผลรวมกันเป็นศูนย์ จีนส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของมนุษยชาติที่มีสันติภาพ การพัฒนา ความยุติธรรม  ความเป็นธรรมประชาธิปไตยและเสรีภาพ  ปฏิบัติตามความรับผิดชอบและพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน ยึดมั่นในระบบพหุภาคีอย่างแท้จริง และปกป้องระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางและระเบียบระหว่างประเทศที่ถือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นพื้นฐานอย่างแน่วแน่ เราจะยังคงเป็นผู้สร้างสันติภาพของโลก ผู้มีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาของโลก และผู้พิทักษ์ระเบียบระหว่างประเทศ

——มุ่งเน้นการพัฒนาร่วมมือเพื่อสร้างยุคใหม่ของการพัฒนาระดับโลก

การพัฒนาเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญตลอดกาลของสังคมมนุษย์และเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 แห่งสหประชาชาติ เพื่อผลักดันในการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนการพัฒนาระดับโลกที่สามัคคี เสมอภาค สมดุล และมีผลประโยชน์ร่วมกัน และผลักดันในการสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 100 กว่าประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น ฝ่ายจีนเพิ่งเปิดตัว รายงานการพัฒนาระดับโลก ซึ่งในรายงานได้เสนอแนะนโยบาย 8ด้านเกี่ยวกับการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030  บนพื้นฐานของช่วงการพัฒนาใหม่ จีนจะใช้แนวคิดการพัฒนาใหม่ สร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่อย่างแข็งขัน และมุ่งมั่นที่จะบรรลุการพัฒนาที่มีคุณภาพ

ฝ่ายไทยสนับสนุนข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างแข็งขัน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกกรอบความร่วมมือBRICS Plus และนายดอนปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของกลุ่มเพื่อนมิตรของข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยส่งเสริมนั้นสอดคล้องกับแนวคิด น้ำใสและเขาเขียวเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงเสนอ จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและกลุ่มประเทศ BRICS เพื่อเร่งดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ พัฒนาข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลกเพื่อช่วยให้บรรลุการพัฒนาระดับโลกที่แข็งแกร่ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีสุขภาวะที่ดี

——สอดคล้องกับแนวโน้มของยุคสมัยร่วมกันปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นอย่างลึกซึ้งว่าการยอมรับความแตกต่างโดยไม่แบ่งแยก เอื้อผลประโยชน์ร่วมกันนั้น เป็นเส้นทางที่ถูกต้องของสังคมโลก ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการคว่ำบาตรเป็นบูมเมอแรงและดาบสองคมและทำเศรษฐกิจโลกให้เป็นการเมืองเป็นเครื่องมือและอาวุธสงครามและใช้ประโยชน์จากระบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อการคว่ำบาตรในที่สุดจะเป็นการทำร้ายคนอื่นและตัวเองและทำให้ประชาชนชาวโลกต้องได้รับผลกระทบอย่างสาหัส เราต้องยึดมั่นในการเปิดกว้าง ยอมรับซึ่งกันและกัน  ชี้นำและส่งเสริมการพัฒนาที่ดีของโลกาภิวัตน์ รักษาระบบการค้าพหุภาคีโดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนหลัก และส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง ยึดมั่นในการหารือร่วมกัน พัฒนาร่วมกันและแบ่งปัน และเพิ่มการเป็นตัวแทนและอำนาจของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้มั่นใจในความเสมอภาคของสิทธิประโยชน์ กฎเกณฑ์ และโอกาสของแต่ละประเทศ

การผลักดันและเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลกเป็นภาระหน้าที่อันชอบธรรมของความร่วมมือ BRICS จีนยึดมั่นในการพัฒนาอย่างสันติและสนับสนุนความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ร่วมกัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของ130 กว่าประเทศและภูมิภาค และได้ลงนามร่วมกับ 149 ประเทศและ 32 องค์การระหว่างประเทศในเอกสารว่าด้วยความร่วมมือการสร้างสายแถบและเส้นทางมากกว่า 200 ฉบับ ประชาชนจีนได้เริ่มเดินทางครั้งใหม่บนเส้นทางการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้าน เราจะเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่โดยมีวัฏจักรภายในประเทศเป็นหลักและมีวัฏจักรคู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสริมกำลังซึ่งกันและกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพและแบ่งปันโอกาสในการพัฒนากับประเทศต่างๆ รวมประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศไทย เพื่อแสดงบทบาทมากขึ้นในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

——ส่งเสริมการขยายสมาชิกของกลไก BRICS เริ่มการเดินทางครั้งใหม่ของความร่วมมือ BRICS

  ดอกไม้ดอกเดียวไม่ใช่ฤดูใบไม้ผลิ และห่านฟ้าเพียงตัวเดียวไม่สามารถเดินทางเป็นกลุ่มได้ ความสำคัญของความร่วมมือ BRICS ได้เกินขอบเขตของ 5 ประเทศไป ได้แบกรับความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาและตลอดจนสังคมโลกด้วย กลุ่มประเทศ BRICS ไม่ใช่สโมสรปิดกั้นหรือก๊วนเล็ก ที่กีดกันคนนอกแต่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเป็นหุ้นส่วนที่ดีเพื่อความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน 16 ปีที่ผ่านมา กลไกความร่วมมือของ BRICS ได้พัฒนาเป็นกลไกที่นำโดยการประชุมของผู้นำและเสริมด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรี เช่น การประชุมผู้แทนระดับสูงด้านกิจการความมั่นคงและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และขับเคลื่อนด้วย สามล้อ ซึ่งประกอบด้วย ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน และการแลกเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรม กลายเป็นเวทีสำคัญของความร่วมมือสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็งและความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และกลายเป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน

จีนเสนอให้เริ่มกระบวนการขยายสมาชิกกลุ่ม BRICS หารือมาตรฐานและขั้นตอนการขยายสมาชิก และบรรลุฉันทามติอย่างเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของกลุ่มประเทศ BRICS ตอบสนองต่อความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา และจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับความเป็นตัวแทนและอำนาจของกลุ่มประเทศ BRICS ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลก ใน 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การนำเสนอแนวคิดของความร่วมมือ “BRICS+” BRICS ได้กลายเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการความร่วมมือใต้ใต้ และบรรลุความเป็นหุ้นส่วนและพัฒนาตนเอง ในปีนี้ การประชุมในกลุ่ม “BRICS+” ได้รับการยกระดับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นครั้งแรก ปฏิญญาปักกิ่ง เน้นย้ำถึงความพยายามของประเทศในกลุ่ม BRICS ในการขยายความร่วมมือกับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ และสนับสนุนการส่งเสริมการหารือนอกสมาชิกและความร่วมมือ “BRICS+”  การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของความสัมพันธ์หุ้นส่วน BRICSรวมทั้งการหารือนอกกลุ่มสมาชิกและความร่วมมือ“BRICS+”  ซึ่งจะเป็นการเสริมแรงผลักดันใหม่ในการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประเทศ  และดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030

ในฐานะที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในกิจการระหว่างประเทศและภูมิภาค เป็นผู้มีส่วนร่วมและผู้ผลักดันการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน จีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อนที่ดี หุ้นส่วนที่ดีและญาติที่ดี ทั้งสองฝ่ายมีความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง มีผลประโยชน์ร่วมกันในหลากหลายมิติ และมีศักยภาพในความร่วมมือสูง จีนยินดีร่วมมือกับไทยและประเทศตลาดเกิดใหม่ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อร่วมมือร่วมใจกัน เคียงบ่าเคียงไหล่กันสร้างรูปแบบการพัฒนาที่มีผลประโยชน์ที่ร่วมกัน ความสมดุล ครอบคลุมและการไม่แบ่งแยก ความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน สร้างประชาคมที่มีชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ และสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ


Suggest To A Friend:   
Print