Home > ข่าวสารสถานทูต
สุนทรพจน์ของเอกอัครราชทูตหานจื้อเฉียง ในพิธีเปิดงาน “ผู้นำรุ่นใหม่ไทยกับประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน อาเซียน-จีน”
2022-07-01 17:55

เมื่อวันที่ 29 เดือนมิถุนายน ศ.ศ.2022 เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียงได้เข้าร่วมพิธีเปิดงาน “ผู้นำรุ่นใหม่ไทยกับประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน อาเซียน-จีน” และกล่าวสุนทรพจน์ “มือประสานมือสร้างโชคชะตา ใจประสานใจสร้างอนาคตของชาติ”


มือประสานมือสร้างโชคชะตา ใจประสานใจสร้างอนาคตของชาติ


เรียน ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านเกา อั้นหมิง รองประธานและบรรณาธิการบริหาร สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน

นักวิชาการ แขกผู้มีเกียรติ และเพื่อนทั้งหลาย

สวัสดีตอนบ่าย


ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีเปิดงาน“ผู้นำรุ่นใหม่ไทยกับประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกัน อาเซียน-จีน”ในวันนี้ก่อนอื่นในนามของสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีที่ฟอรั่มในวันนี้ดำเนินลุล่วงด้วยดี และขอส่งความปรารถนาดีและคำขอบคุณจากใจจริงถึงท่านทั้งหลายที่คอยห่วงใยและสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนและความสัมพันธ์จีน-ไทยมาอย่างยาวนาน

จีนกับอาเซียนเป็นทั้งมิตรที่ดี เพื่อนบ้านที่ดี และหุ้นส่วนที่ดีซึ่งมีโชคชะตาร่วมกัน นับตั้งแต่เริ่มความสัมพันธ์คู่เจรจาเมื่อปี 1991ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนก็บรรลุการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ความร่วมมือด้านต่างๆ นับวันใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงและผู้นำประเทศอาเซียนได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดในโอกาสเฉลิมฉลองการครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน พร้อมประกาศสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านจีน-อาเซียน ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญใหม่ในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาความสัมพันธ์สองฝ่าย สามารถกล่าวได้อย่างภูมิใจว่า ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนในเวลานี้ ได้กลายเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จและมีพลวัตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นเสาหลักในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และส่งเสริมการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

เราได้ยึดมั่นในการสร้างความศรัทธา ความปรองดองและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเสมอมา ประเทศจีนกับประเทศอาเซียนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์และมีภารกิจการพัฒนาที่คล้ายคลึงกัน ต่างทราบดีถึงคุณค่าของสันติภาพและเสถียรภาพ เรายึดมั่นในภูมิปัญญาเอเชีย ยืนหยัดในความเสมอภาคและเคารพซึ่งกันและกัน สร้างความร่วมมือด้วยความจริงใจ หลักห้าประการว่าด้วยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและ “จิตวิญญาณบันดุง” ยังคงสว่างไสวมาจนถึงทุกวันนี้ จีนถืออาเซียนมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการทูตกับประเทศเพื่อนบ้านมาโดยตลอด จีนเป็นประเทศแรกที่เข้าร่วม “สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในกลุ่มประเทศคู่เจรจาอาเซียนเป็นประเทศแรกที่สร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์กับอาเซียน เป็นประเทศแรกที่สนับสนุนฐานะศูนย์กลางของอาเซี่ยนในความร่วมมือระดับภูมิภาคอย่างชัดเจนเราส่งเสริมความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจกันผ่านการสื่อสารที่เป็นมิตร แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่างในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันรักษาทิศทางที่ถูกต้องของความร่วมมือในเอเชียตะวันออก

เราได้ร่วมแรงร่วมใจกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอมา จีนและอาเซียนยึดมั่นในจิตวิญญาณของการเป็นประชาคมที่มีโชคชะตาร่วมกันร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาโดยตลอด ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวและสึนามิ หรือความท้าทายใหญ่เช่นโรคซาร์สและวิกฤตทางการเงิน ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในการให้ความสนับสนุนและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่เสมอมา เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดอย่างกระทันหันของ COVID-19 ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันฟันฝ่าความยากลำบากด้วยกัน จีนเป็นประเทศแรกที่จัดหาวัคซีนต่อต้าน COVID-19 ให้แก่ประเทศอาเซียนกว่า 600 ล้านโดส ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบพี่น้องที่พึ่งพาอาศัยกันด้วยปฏิบัติการ

เราได้จับมือพัฒนาไปด้วยกัน มุ่งสร้างความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเสมอมา จีนและอาเซียนยึดมั่นในการเปิดกว้างและครอบคลุม ได้ร่วมสร้างเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาสร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคที่มีการบูรณาการและความเชื่อมโยงกัน และสร้างความมหัศจรรย์ด้านความมั่งคั่งและการพัฒนาในเอเชียตะวันออก ทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน การลงทุนซึ่งกันและกันมีมูลค่าสะสมมากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างจีน-อาเซียนได้สูงถึง 3.712 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.2% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและพลวัติที่แข็งแกร่งของความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อกัน พวกเราได้ร่วมกันสร้าง “สายแถบและเส้นทาง” ที่มีคุณภาพสูง รถไฟจีน-ลาวเปิดใช้บริการตลอดระยะทางรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุงเริ่มการก่อสร้าง การสร้างโครงการรถไฟจีน-ไทยมีความคืบหน้าอย่างมั่นคง และความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เช่น 5G อุตสาหกรรมสีเขียวและเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้อารยธรรมซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจและอยู่ร่วมกันเสมอมา จีนและอาเซียนเชิดชูแนวคิดวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกที่มุ่งเน้นความปรองดองความหลากหลายและความรอมชอมซึ่งกันและกัน ได้กระชับสายใยแห่งการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและบุคลากรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนเกิด COVID-19 การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างทั้งสองฝ่ายมีมากกว่า 65 ล้านคนต่อปี และมีเที่ยวบินประมาณ 4500 เที่ยวไปกลับระหว่างจีนกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกสัปดาห์ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนนักศึกษามากกว่า 2 แสนคน และสร้างเมืองพี่เมืองน้องมากกว่า 200 คู่จากผลสำรวจล่าสุดของสื่อจีน ได้พบว่า 95.7% ของหน่วยตัวจะสนับสนุนการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างจีน-อาเซียน

ท่านทั้งหลาย

สังคมมนุษย์ได้เข้าสู่ทศวรรษที่สามของศตวรรษที่ 21 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าทุกวัน ตลาดโลกมีการผสมผสานและบูรณาการอย่างไม่เคยมีมาก่อน นี่ควรเป็นยุคสมัยที่ดีสำหรับมนุษยชาติในการบรรลุการพัฒนา ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรือง น่าเสียดายที่บางประเทศ ร่างกายเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 แต่ความคิดยังนิ่งอยู่ในยุคสงครามเย็น และเมื่อเผชิญกับความล้มเหลวในการบริหารประเทศ ความเหลื่อมล้ำชของสังคม และการแบ่งขั้วทางการเมืองภายในประเทศ พวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้เลย แต่เร่งดำเนินยุทธศาสตร์การกีดกันในโลก ยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มค่าย สร้างความขัดแย้งและการปะทะกัน นำความท้าทายและภัยคุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก

สันติภาพเป็นเงื่อนไขหลักของความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติและความสุขของประชาชน ความหายนะของสงครามโลกสองครั้งได้นำบทเรียนอันเจ็บปวดมาสู่มวลมนุษยชาติ อัฟกานิสถาน อิรัก ซีเรีย และประเทศอื่น ๆ ได้รับความบอบช้ำจากสงคราม และวิกฤตยูเครนก็ได้ส่งเสียงเตือนให้พวกเราอีกครั้ง เบื้องหลังความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนคือความขัดแย้งด้านความมั่นคงของยุโรปที่สะสมมาเป็นเวลานานได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง NATO ที่นำโดยสหรัฐฯ ได้ขยายอิทธิพลไปทางตะวันออกอย่างต่อเนื่องหลังสิ้นสุดสงครามเย็นและกดดันรัสเซียอย่างหนักจนนำไปสู่การตอบโต้ของรัสเซีย และยูเครนก็ตกเป็นเหยื่อ จีนมีท่าทีว่าการแก้ไขวิกฤตปัจจุบันต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ เคารพและปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกประเทศ ต้องยึดมั่นในหลักความมั่นคงที่แบ่งแยกไม่ได้ และใส่ใจข้อกังวลด้านความปลอดภัยอันชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายต่างๆ ต้องยืนหยัดในการแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธีโดยผ่านการเจรจาหารือ ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าอำนาจนิยม การเมืองแบบแบ่งกลุ่ม และการเผชิญหน้าโดยการแบ่งค่ายจะนำไปสู่สงครามและความขัดแย้งเท่านั้น การขยายพันธมิตรทางทหารและการแสวงหาความมั่นคงของตนโดยแลกกับความมั่นคงของประเทศอื่นๆย่อมจะนำไปสู่ภาวะที่ยากลำบากด้านความมั่นคง

สิ่งที่น่ากังวลก็คือ สหรัฐฯ ยังสืบทอด “แนวคิดสงครามเย็น” และตรรกะแบบเจ้าโลกพยายามลอกแบบกลยุทธ์ของตนที่กีดกันรัสเซียและควบคุมยุโรปในซีกโลกตะวันตกมาใช้ในภูมิภาคนี้ เพ้อฝันที่จะสกัดกั้นการพัฒนาของจีนและทำตัวเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคนี้ตลอดไป สหรัฐฯ ได้จัดทำ “ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก” ทำลายโครงสร้างความร่วมมือที่ถืออาเซียนเป็นศูนย์กลางที่มีอยู่แล้วในภูมิภาคนี้ สร้าง “วงเล็ก” เพื่อกีดกันผู้อื่น เช่น “AUKUS” และ “Quad” สหรัฐฯ ใช้การเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคเป็นข้ออ้าง ยุยงปลุกปั่นให้เกิดการแข่งขันอาวุธภายในภูมิภาค ก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการแพร่กระจายนิวเคลียร์ อีกทั้งส่งเรือรบและเครื่องบินรบมาถึงช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้และยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้ากัน สหรัฐฯ ยังส่งเสริมให้ NATO เข้าร่วมกิจการเอเชียแปซิฟิกอย่างเต็มที่ และเชิญพันธมิตรในเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของ NATO หากปล่อยให้สถานการณ์ที่อันตรายเช่นนี้ดำเนินต่อไป สันติภาพและความมั่นคงที่ได้มาอย่างยากลำบากของภูมิภาคนี้จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในยุโรปและหลายส่วนของโลกจะเกิดขึ้นซ้ำรอยในเอเชียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่ไม่ใช่การปั้นคำขึ้นมาเพื่อสร้างความตื่นตระหนก แต่เป็นภัยคุกคามแท้จริงที่พวกเรากำลังเผชิญกันอยู่ ซึ่งต้องให้ความคำสัญและระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

การพัฒนาเป็นหลักประกันความเจริญรุ่งเรืองของชาติและความสุขของประชาชน ปัจจุบัน เนื่องด้วยผลกระทบจาก COVID-19 ความวุ่นวายและปั่นป่วนในภูมิภาคตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไร้ระเบียบ ส่งผลให้การดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี2030ของสหประชาชาติได้รับผลกระทบอย่างหนัก ประชาชน 1200 ล้านคนในเกือบ 70 ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคระบาด อาหาร พลังงาน หนี้สิน ฯลฯ ความสำเร็จในการลดความยากจนทั่วโลกที่พยายามมาหลายทศวรรษอาจต้องสูญเปล่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกควรร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาในการพัฒนาและส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแต่บางประเทศกลับดำเนินการอย่างไร้ความรับผิดชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว สหรัฐฯ ทำการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างหนัก มีการเก็บภาษีศุลกากรตามอำเภอใจ ดำเนินการตัดขาดทางอุตสาหกรรมและการปิดกั้นทางเทคโนโลยีทำลายห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างสาหัส และทำให้ราคาน้ำมันและราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก สหรัฐฯ ใช้สถานะพิเศษของตนในระบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อออกกลอุบายที่นำไปสู่ความผันผวนอย่างต่อเนื่องในตลาดการเงินระหว่างประเทศทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนมากขึ้นตกอยู่ในวิกฤตหนี้สิน การพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นความปรารถานาร่วมกันของประชาชน และเป็นกระแสหลักของโลก ซึ่งเป็นแนวโน้มทางประวัติศาสตร์ที่มิอาจขวางกั้นได้ ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการถอยหลังทางประวัติศาสตร์ และการทำเรื่องเศรษฐกิจเป็นประเด็นการเมืองและอาวุธนั้น จะสร้างความเสียหายต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

เมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯ ได้จัดทำ “กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก” หรือ IPEF แม้จะพยายามตกแต่งอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยากที่จะปิดบังแก่นแท้ที่เป็นการบีบบังคับให้ประเทศในภูมิภาคต้องเลือกข้าง และสร้างความแตกแยกและการเผชิญหน้าในระดับภูมิภาค สหรัฐฯ  อ้างว่า “IPEF” เป็น “การเปิดกว้างและครอบคลุม” แต่ขณะเดียวกันก็ระบุอย่างเปิดเผยว่า “IPEF” จะครอบคลุมมาตรา “ยาพิษ” ที่จำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ละเอียดอ่อนไปยังประเทศจีน บีบให้ประเทศในภูมิภาค “แยกตัว” และ “ตัดขาด” จากประเทศจีนในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี  สหรัฐฯ ได้ทิ้งการสร้างเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกไว้ข้างหลังเป็นเวลานานแล้ว ได้ถอนตัวจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ที่ตนริเริ่มเอง แล้วสร้างบ้านหลังใหม่และตั้งระบบอีกชุดหนึ่ง ซึ่งได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า “IPEF” เป็นเพียงเครื่องมือการเมืองของสหรัฐฯ ในการรักษาอำนาจเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ จึงเป็นอันตรายต่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค

ท่านทั้งหลาย

เปิดกว้างหรือปิดกั้น ความสามัคคีหรือความแตกแยก ความร่วมมือหรือการเผชิญหน้า โจทย์แห่งยุคสมัยกำลังอยู่ต่อหน้าเรา  เมื่อยืนบนทางแยกของประวัติศาสตร์ จีนยินดีที่จะร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อพิทักษ์สันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาคที่ได้มาอย่างยากลำบาก ใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาและประสบการณ์ที่สะสมมาจากความร่วมมือกว่า 30 ปี เข้าใจแนวโน้มทั่วไปของประวัติศาสตร์ ขจัดความเสี่ยงต่าง ๆ ใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์ ร่วมกันสร้างอนาคตที่สดใส

ปีที่แล้ว จีนประสบความสำเร็จในการสร้างสังคมอยู่ดีมีสุขอย่างรอบด้าน ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนประชาชนชาวจีนกำลังบุกเบิกครั้งใหม่สู่การสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้านตามแนวทางสังคมนิยมแบบมีอัตลักษณ์จีนด้วยความมั่นใจ จีนจะเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่โดยมีการหมุนเวียนภายในประเทศเป็นหลักและมีการหมุนเวียนคู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสริมกำลังซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง และแบ่งปันโอกาสการพัฒนากับทั่วโลก โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซียน จีนจะยืนหยัดในการเป็นผู้สร้างสันติภาพ ผู้มีส่วนสนับสนุนต่อการพัฒนา และผู้พิทักษ์ระเบียบสากลของโลก เพื่อสร้างคุณูปการมากขึ้นสำหรับการพัฒนาอย่างสันติของโลกและเพื่ออนาคตที่สดใสของมนุษยชาติ

ไม่ว่าในอดีตปัจจุบัน หรืออนาคตจีนล้วนเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อนที่ดี และหุ้นส่วนที่ดีของอาเซียนตลอดกาล จีนมีความแน่วแน่ในการให้ความสำคัญกับอาเซียนเป็นอันดับแรกในการทูตกับประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนความสามัคคีของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียน สนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซี่ยนในความร่วมมือภูมิภาค และสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทมากขึ้นในกิจการระดับภูมิภาคและระดับโลก จีนยินดีร่วมมือกับอาเซียนอย่างจริงจังในการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างกัน ร่วมกันสร้างบ้านเรือนแห่งสันติภาพ ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความสวยงาม และความเป็นมิตรไมตรีระหว่างจีน-อาเซียน และก้าวหน้าสู่การสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียนที่มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

รักษาความสามัคคีและความมั่นคงของภูมิภาคเมื่อเผชิญกับภัยคุกคามและความท้าทายต่อสันติภาพในภูมิภาค พวกเราต้องใช้ภูมิปัญญาแห่งเอเชีย ส่งเสริมความเข้าใจและเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและยอมรับซึ่งกันและกัน ส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจทางยุทธศาสตร์ของกันและกัน ไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มอิทธิพลภายนอกใดๆ เข้ามาสร้างความบาดหมางและแทรกแซงสันติภาพและเสถียรภาพภายในภูมิภาค เราต้องต่อต้าน “เกมผลรวมเป็นศูนย์” และ “แนวคิดสงครามเย็น”อย่างเด็ดขาดยืนหยัดต่อต้านการเมืองแบบแบ่งกลุ่มและการเผชิญหน้าระหว่างค่าย ไม่ยอมให้กองกำลังภายนอกเข้ามาสร้างความแตกแยกและความตึงเครียดในภูมิภาค

ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาค ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกในการประชุมฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวปีนี้ โดยริเริ่มให้ยึดมั่นว่ามวลมนุษยชาติเป็นประชาคมแห่งความมั่นคงที่แบ่งแยกมิได้ เน้นบุกเบิกเส้นทางการรักษาความมั่นคงแบบใหม่ที่เน้นการเจรจาแต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า การเป็นหุ้นส่วนแต่ไม่ใช่การเป็นพันธมิตร และชนะด้วยกันแต่ไม่ใช่ผลรวมเป็นศูนย์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด“ความมั่นคงแบบองค์รวม” ของอาเซียน จีนยินดีที่ทำงานร่วมกับอาเซียนเพื่อให้ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกมีการปฏิบัติที่เป็นจริงในภูมิภาคนี้ จีนยินดีร่วมมือกับอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคในด้านสาธารณสุข ความมั่นคงด้านอาหาร การบังคับใช้กฎหมายป้องกันประเทศ การบริหารจัดการภัยพิบัติฯลฯ สร้างกรอบความมั่นคงของภูมิภาคที่สมดุล มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

เร่งการฟื้นฟูและการพัฒนาในภูมิภาค เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเป็นประธานในการประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ซึ่งมีผู้นำจากประเทศอาเซียนหลายประเทศเข้าร่วมรวมทั้งนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันโอชาด้วย โดยที่ประชุมได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับแผนความร่วมมือด้านการพัฒนา ซึ่งได้บรรลุฉันทามติในวงกว้าง จีนยินดีส่งเสริมการพัฒนาร่วมกับอาเซียน ผลักดันให้เกิดการสอดประสานกันระหว่างข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกที่เสนอโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กับ “วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025” ดำนเนินการโครงการช่วยเหลือมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเสนอมาเพื่อการพัฒนาของอาเซียน ขยายความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาแบบสีเขียว และส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคมีการพัฒนาที่สอดประสานกันมีนวัตกรรม และยั่งยืนร่วมกันปฏิบัติตาม RCEP ให้บรรลุเป้าหมาย เร่งเริ่มต้นการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนเวอร์ชัน 3.0 ส่งเสริมการพัฒนาเชิงลึกของการสร้างบูรณาการของเศรษฐกิจในภูมิภาค สร้างความสุขแก่ประชาชนทุกประเทศในภูมิภาคอย่างแท้จริง

อนุรักษณ์ท้องฟ้าและดินแดนในภูมิภาค จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับอาเซียนเพื่อความสำเร็จในการจัดงานปีแห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดการสนทนาและความร่วมมือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการแบ่งปันเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น โซล่าเซลล์ ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเช่นรถยนต์ไฟฟ้า ร่วมกันส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างพลังงานและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานในภูมิภาครักษาความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาคสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนและจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างบูรณาการ

ส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมเอเชีย ร่วมกันปฏิบัติค่านิยมร่วมกันของมวลมนุษยชาติแห่งสันติภาพ การพัฒนา ความยุติธรรม ความเป็นธรรมประชาธิปไตยและเสรีภาพ ผลักดันการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรมเอเชียแห่งความปรองดองการอยู่ร่วมกันความหลากหลายและความรอมชอมเพื่อให้อุทายานแห่งวัฒนธรรมเอเชียมีดอกไม้บานสะพรั่งต้องโฟกัสในการแลกเปลี่ยนด้านบุคลากรหลัง COVID-19 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาและการกีฬาอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างความเข้าใจ ความใกล้ชิดและความปรองดองระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศเพื่อเป็นการวางรากฐานมติมหาชนที่มั่นคงต่อการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียน

ท่านทั้งหลาย

เยาวชนเป็นกลุ่มที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด และเป็นความหวังสำหรับการพัฒนาในอนาคตของทุกประเทศ ผลสัมฤทธิ์ของความร่วมมือจีน-อาเซียนจะแยกออกจากการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและการสนับสนุนที่สำคัญของเยาวชนทั้งสองฝ่ายไม่ได้ การผลักดันการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-อาเซียนให้มั่นคงเป็นความรับผิดชอบและภาระกิจสำคัญของเยาวชนทั้งสองฝ่าย ทุกท่าน ณ ที่นี่ล้วนเป็นผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านทั้งหลายจะเป็นผู้สืบทอดมิตรภาพอันดีระหว่างจีนและอาเซียนต่อไป บอกเล่าเรื่องราวของความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ต่อกันระหว่างจีนและอาเซียนให้ดี เพิ่มเติมพลวัตของคนรุ่นใหม่ให้กับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มเติมภูมิปัญญาของคนรุ่นใหม่ต่อการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนและแสดงบทบาทของคนรุ่นใหม่ในการสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียนที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ

Suggest To A Friend:   
Print