Home > คอลัมน์ท่านเอกอัครราชทูต > กิจกรรมท่านเอกอัครราชทูต
เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียงเข้าร่วมเสวนาครบรอบ 10 ปีแห่งความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
2023-09-10 16:32

เมื่อวันที่ 7 กันยายน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีนได้ร่วมจัดเสวนาครบรอบ 10 ปี แห่งความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ภายใต้หัวข้อ “หนึ่งทศวรรษของหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ร่วมสร้างโชคชะตาร่วมกันเอเชีย-แปซิฟิก” เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียงเข้าร่วมเสวนาและกล่าวสุนทรพจน์ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย รศ.ดร.โภคิน พลกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.สุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน นายพิริยะ เข็มพล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน และผู้แทนทางด้านการเมือง นักวิชาการ ธุรกิจ สื่อมวลชนและนักศึกษาจากลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้เข้าร่วม ทั้งหมด 100 กว่าคน

ในพิธีเปิดงาน นายหานกล่าวว่า ใน 10 ปีที่ผ่านมาที่นับแต่ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้เสนอออก  ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้เสริมสร้างความไว้วางใจด้านการเมืองซึ่งกันและกัน เกิดผลลัพธ์มากมายจากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลลัพธ์การค้าที่น่าทึ่ง ช่วยส่งเสริมการพัฒนาของการเงิน และเชื่อมหัวใจและสร้างประโยชน์ต่อประชาชน จึงได้เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่ได้รับการต้อนรับมากที่สุดและเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ทำให้เกิดการพัฒนาและสร้างประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในประเทศต่างๆ จวบจนเดือนมิถุนายนปีนี้ จีนได้ลงนามเอกสารความร่วมมือมากกว่า 200 ฉบับเกี่ยวกับการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกับ 152 ประเทศและ 32 องค์กรระหว่างประเทศ  ก่อตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีมากกว่า 90 กลไก และสร้างโครงการความร่วมมือมากกว่า 3,000 โครงการ โดยขับเคลื่อนการลงทุนที่มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ช่วยให้ผู้คนเกือบ 40 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน

นายหานกล่าวว่า ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากประเทศต่าง ๆ ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาของแต่ละประเทศและบรรลุผลสำเร็จมากมาย แสดงถึงจิตวิญญาณของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่ร่วมมือกันเพื่อชัยชนะและสร้างอนาคตร่วมกัน ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เน้นการพัฒนาเป็นสำคัญ ส่งเสริมการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน และสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ ยึดมั่นในแนวคิดการเปิดกว้าง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และซื่อสัตย์ เน้นการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ยึดถือหลักการของการร่วมหารือ ร่วมก่อสร้าง และร่วมแบ่งปันประโยชน์ ไม่ก่อก๊วนเล็กก๊วนน้อย ไม่สร้างพันธมิตรทางภูมิรัฐศาสตร์ สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วไปของการพัฒนาแห่งยุคสมัย และสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของประวัติศาสตร์ จึงเป็นเส้นทางแห่งสันติภาพ การพัฒนาและความเจริญรุ่งเรือง

นายหานกล่าวว่า ในอนาคต เราต้องการสร้างฉันทามติ เพื่อการพัฒนาอย่างเต็มที่ ส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และขจัดการแทรกแซงจากภายนอกอย่างเด็ดขาด การประชุมสุดยอด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศครั้งที่ 3 กำลังจะจัดขึ้นในเดือนหน้า ที่กรุงปักกิ่ง จีนจะทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” อย่างต่อเนื่อง เดินหน้ามอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับโลกด้วยการพัฒนาใหม่ๆ ของตนเอง และเพิ่มแรงผลักดันใหม่ๆ ให้กับการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยและแขกผู้มีเกียรติหลายท่านได้กล่าวว่า โลกปัจจุบันกำลังเผชิญกับความขัดแย้งต่างๆ ทุกประเทศมีหน้าที่ในการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของโลกาภิวัตน์ ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ส่งเสริมโครงการความร่วมมือเชิงปฏิบัติต่างๆ ได้ส่งเสริมการเปิดกว้างและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในภูมิภาค และนำพลังการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศในภูมิภาค ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นถนนแห่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนและโลก หวังว่าจีนและไทยจะกระชับความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของทั้งสองประเทศและภูมิภาค

ดร.วิรุฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน รศ.ดร.บัวดำ แสงคำคุดลาวงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวและนักวิชาการต่าง ๆ ในภูมิภาคได้กล่าวว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นเส้นทางการพัฒนาของสังคมมนุษย์ด้วยข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลก และแนวคิดการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ และช่วงสิบปีแห่งการปฏิบัติในเอเชียแปซิฟิกของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้นำสู่ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของเอเชียแปซิฟิก เชื่อว่าข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จะนำความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นมาสู่ประเทศต่างๆ ในอนาคต และหวังว่าจะร่วมมือกับจีนในทศวรรษหน้าของข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

หลังพิธีเปิด ผู้แทนทางการเมือง ธุรกิจ และนักวิชาการจากไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้จัดการประชุมโต๊ะกลมเพื่อหารือเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของเอเชียแปซิฟิก และอนาคตกว้างไกลของความร่วมมือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”


Suggest To A Friend:   
Print