Home > ความสัมพันธ์จีน-ไทย > เข้าใจประเทศไทย
ประเทศไทยโดยสังเขป
2024-01-08 16:56

[ชื่อประเทศ]  ราชอาณาจักรไทย

[พื้นที่]  513,000 ตารางกิโลเมตร

[ประชากร]  67.9 ล้านคน มีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 30 กลุ่มในประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักและภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ผู้คนมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ และส่วนที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ฮินดู และซิกข์

[เมืองหลวง] กรุงเทพมหานคร

[ประมุข]  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี  ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562  

[เทศกาลสำคัญ]  เทศกาลสงกรานต์ (วันที่ 13 ถึง 15 เมษายน ตามปฏิทินสากล) เทศกาลลอยกระทง (ต้นถึงกลางเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสากล หรือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินไทย) วันชาติ (5 ธันวาคม ตามปฏิทินสากล เพื่อรำลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร)

[ประเทศไทยโดยสังเขป] ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับกัมพูชา ลาว เมียนมา และมาเลเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย (มหาสมุทรแปซิฟิก) และทะเลอันดามัน (มหาสมุทรอินเดีย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 27℃

ประเทศกลายเป็นประเทศที่มีเอกภาพขึ้นในคริสตศักราช 1238 โดยแบ่งได้เป็นสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์อย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเคยใช้ชื่อว่าสยาม ในปีพ.ศ. 2439 อังกฤษและฝรั่งเศสลงนามในสนธิสัญญาที่กำหนดให้สยามเป็นรัฐกันชนระหว่างบริติชพม่าและอินโดจีนฝรั่งเศส สยามกลายเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคม ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มเปิดกว้างต่อโลกภายนอก และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดึงเอาประสบการณ์แบบตะวันตกมาดำเนินการปฏิรูปสังคม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำรัฐประหารและเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ.2482 หลังจากการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศหลายครั้ง ในที่สุดได้ชื่อว่าประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 อย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา 

[การเมือง]  ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มทหารควบคุมอำนาจมาเป็นเวลานานและรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา บทบาททหารค่อยๆ ลดน้อยลงไปจากเวทีการเมือง ในปี พ.ศ. 2544  พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไป และทักษิณ ชินวัตรได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 ต่อมาในในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 เกิดรัฐประหารขึ้นและทักษิณก้าวลงจากตำแหน่ง มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2550  พรรคพลังประชาชนได้รับชัยชนะ และนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัคร สุนทรเวช ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีความผิดจึงเป็นเหตุทำให้นายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและพรรคพลังประชาชนได้เสนอให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาลงโทษยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตยฐานทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้นายสมชายก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 15  ธันวาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554  พรรคเพื่อไทยได้รับที่นั่งในสภามากกว่าครึ่งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคมมีการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556  นางสาวยิ่งลักษณ์ได้ประกาศยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557  ประเทศไทยได้จัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร แต่เนื่องจากการคว่ำบาตรของฝ่ายค้านทำให้การลงคะแนนเสียงในบางพื้นที่ไม่สามารถเป็นไปอย่างราบรื่น ในเดือนมีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ เมื่อวันที่  22 พฤษภาคม กองทัพเข้ายึดอำนาจในนามของ “ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ”  ต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคมได้มีการจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันที่ 21  สิงหาคม  สภานิติบัญญัติได้เลือก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธาน “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ วันที่ 24 พลเอกประยุทธ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13  ตุลาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ และมีการเลือกตั้งทั่วไปเริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562  และพลังประชารัฐได้เสนอพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 พลเอกประยุทธ์ได้ประกาศยุบสภาและจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม เมื่อวันที่ 22  สิงหาคม วุฒิสภาสูงและสภาผู้แทนราษฏรชุดใหม่ลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี และนายเศรษฐา ทวีสินได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ วันที่ 1 กันยายน พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566

[รัฐธรรมนูญ]  เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย

[รัฐสภา] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 มีการจัดตั้งสภาผู้แทนราษฏรชุดใหม่ ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภา 250 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราฏร 500 คน ประธานสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน คือ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือ วันนอร์ และรองประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภาคือศาสตราจารย์พรเพชร วิชิตชลชัย

[รัฐบาล] วันที่ 1 กันยายน 2566  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และวันที่ 5 กันยายน คณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตน  

คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ประกอบด้วยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 6 ท่าน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงคมนาคม เป็นต้น รวมทั้งหมด 34 คน

[เขตการบริหาร] ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้งหมด 77 จังหวัด ซึ่งในจังหวัดจะแบ่งออกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน กรุงเทพมหานครเป็นเขตเทศบาลระดับจังหวัดเพียงแห่งเดียว ผู้ว่าราชการของแต่จังหวัดมาจากการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของชาวกรุงเทพฯ

[ระบบกฎหมาย] ระบบกฎหมายไทยเป็นระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (civil law) หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายไทยประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

หน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญ คือการพิพากษาคดีที่สงสัยสมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีกระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ และกรณีที่นักการเมืองต้องสงสัยว่าปกปิดทรัพย์สิน เป็นต้น และผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้วโดยยึดเสียงข้างมากเป็นการตัดสินและถือเป็นการตัดสินถึงที่สุด  คณะผู้พิพากษาคดีประกอบด้วย ประธานศาล 1 คน และผู้พิพากษา 8 คน ประธานศาลและผู้พิพากษาได้รับการเสนอชื่อจากประธานวุฒิสภาและได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

ศาลปกครอง ส่วนใหญ่รับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระหว่างข้าราชการกับบริษัทเอกชน ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้นศาล ได้แก่ ศาลปกครองสูงสุดกับศาลปกครองชั้นต้น และมีคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุดและผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน การแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุดต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมและวุฒิสภา และต้องได้รับการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรีและนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงให้ความเห็นชอบ

ศาลทหาร ส่วนใหญ่รับพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรมทางทหารและคดีอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

ศาลยุติธรรม พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงเว้นแต่คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารไม่ได้รับการพิจารณา ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา และมีแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ เช่น การแต่งตั้ง ถอดถอน การเลื่อนตำแหน่ง การขึ้นเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาทุกระดับ ศาลยุติธรรมมีสำนักเลขาธิการที่รับผิดชอบในการจัดการงานธุรการประจำวัน

[บุคคลสำคัญ] พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ที่ กรุงเทพฯ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมารในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 และเสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559  พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์จัดขึ้นในวันที่ 4–6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 

เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงเข้าศึกษา อยู่ที่โรงเรียนในประเทศอังกฤษ และประเทศออสเตรเลีย และทรงเข้าศึกษาการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูนกรุงแคนเบอร์รา  ประเทศออสเตรเลีย  ทรงได้รับถวายสัญญาบัตรจากวิทยาลัยการทหารดันทรูน และปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์  เคยดำรงตำแหน่งเป็นทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

เศรษฐา ทวีสิน: นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ เขาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกลุ่มแสนสิริ ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยมายาวนาน  ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เขาได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เขาเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน

[เศรษฐกิจ] ประเทศไทยเริ่มใช้แผนกพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปีฉบับแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ในปี 2566 ใช้แผนฯ ห้าปีฉบับที่ 13 ข้อมูลเศรษฐกิจหลักในปี 2565 มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือของ GDP : 495.2 พันล้านดอลลาร์

การเติบโตของ GDP: 2.6%

สกุลเงิน: บาท

อัตราแลกเปลี่ยน (ราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปี): 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 34.5 บาท

อัตราเงินเฟ้อ: 6.08%

อัตราการว่างงาน: 1.37%

[ทรัพยากรธรรมชาติ]  ทรัพยากรธรรมชาติหลักจะประกอบด้วยโปแตช ดีบุก ลิกไนต์ หินน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สังกะสี ตะกั่ว ทังสเตน เหล็ก พลวง โครเมียม แบไรท์ อัญมณี และปิโตรเลียม

[อุตสาหกรรม] อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออก สาขาอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ การทำเหมือง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก การแปรรูปอาหาร ของเล่น การประกอบรถยนต์ วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ ยางรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมใน GDP ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

[เกษตรกรรม] เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจดั้งเดิม พื้นที่เพาะปลูกของประเทศคิดเป็นประมาณร้อยละ 41 ของพื้นที่ทั้งหมด พืชผลหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ถั่วเขียว ป่าน ยาสูบ เมล็ดกาแฟ ฝ้าย ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เป็นต้น

[การประมง] พื้นที่ทะเลกว้างใหญ่ มีแนวชายฝั่งยาว 2,705 กิโลเมตร อ่าวไทยและทะเลอันดามันถือเป็นการประมงทะเลตามธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว กรุงเทพมหานคร สงขลา ภูเก็ต และสถานที่อื่นๆ เป็นศูนย์กลางประมงและศูนย์กระจายสินค้าประมงที่สำคัญ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ปลารายใหญ่สู่ตลาดโลก

[อุตสาหกรรมบริการ] อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรักษาโมเมนตัมการพัฒนาที่มั่นคงและเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา เชียงราย หัวหิน เกาะสมุย เป็นต้น

[การขนส่ง] การขนส่งทางถนนและทางอากาศเป็นหลัก ทุกจังหวัดและอำเภอเชื่อมต่อกันด้วยทางหลวงที่ทอดยาวไปทุกทิศทุกทาง

แม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางขนส่งทางน้ำที่สำคัญสองสายของประเทศไทย ในประเทศมีท่าเรือทั้งหมด 47 แห่ง รวมถึงท่าเรือทางทะเล 26 แห่ง และท่าเรือระหว่างประเทศ 21 แห่ง ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือสงขลา ท่าเรือภูเก็ต ท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือเชียงของ ท่าเรือระนอง และท่าเรือศรีราชา สายการเดินเรือสามารถเข้าถึงจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และสิงคโปร์ ในประเทศมีสนามบิน 57 แห่ง รวมถึงสนามบินนานาชาติ 8 แห่ง หลังจากที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิในกรุงเทพฯ ถูกนำมาใช้ ก็กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เส้นทางระหว่างประเทศเข้าถึงเมืองต่างๆ มากกว่า 40 เมืองในยุโรป อเมริกา เอเชีย และโอเชียเนีย และเส้นทางภายในประเทศครอบคลุมเมืองใหญ่และขนาดกลางมากกว่า 20 เมืองทั่วประเทศ

[การคลังและการเงิน] รายรับทางการคลังใน พ.ศ.2565 อยู่ที่ 71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ 210 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

[การค้าต่างประเทศ] การค้าต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ ปริมาณการค้าของไทยในปี 2565 จะอยู่ที่ 545.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในจำนวนนี้ การส่งออกมีมูลค่า 265.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และการนำเข้ามีมูลค่า 280.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี สินค้าอุตสาหกรรมเป็นจุดเติบโตหลักของการส่งออก จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และอะไหล่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติกปฐมภูมิ เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี เครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ยาง เฟอร์นิเจอร์ อาหารทะเลและกระป๋องแปรรูป ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น

สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องกลไฟฟ้าและอะไหล่ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนอะไหล่ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง น้ำมันดิบ เครื่องจักรกระดาษ เหล็ก แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอะไหล่ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องประดับ อัญมณี ผลิตภัณฑ์โลหะ อาหารสัตว์ ผักและผลไม้ ฯลฯ

[การลงทุนในต่างประเทศ] ลงทุนในสหรัฐอเมริกา อาเซียน จีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวันเป็นหลัก ในปี 2565 การลงทุนใหม่ของไทยในจีนมีมูลค่า 68.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 36.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี บริษัทหลักที่ลงทุนในจีน ได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น

[การลงทุนจากต่างประเทศ] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ประเทศได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตลาดแบบเปิด และใช้นโยบายพิเศษหลายนโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2533 เป็นช่วงที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงสุดในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินในเอเชียในปี 2540 การลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้เพิ่มการลงทุน เสริมสร้างความเข้มแข็งในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

[การทหาร] ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มีการจัดตั้งกองทัพและกองทัพเรือตามแบบอย่างของโลกตะวันตก และกองทัพอากาศได้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2458 รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติมีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติและช่วยเหลือในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงโดยรวมของประเทศ อยู่ในสังกัดคณะรัฐมนตรีและมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานบริหารทางทหารสูงสุดที่รับผิดชอบในการกำหนดและดำเนินนโยบายและแผนการป้องกันประเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นองค์กรบัญชาการสูงสุดของกองทัพ ประกอบด้วยกองบัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีหน้าที่สั่งการและประสานงานการปฏิบัติการของทั้ง 3 เหล่าทัพ

[การศึกษา] การศึกษาภาคบังคับ 12 ปี การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นระบบ 12 ปี ได้แก่ ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี โรงเรียนอาชีวศึกษาหลักสูตร 3 ปี มหาวิทยาลัยโดยทั่วไปมีหลักสูตร 4 ปี และมหาวิทยาลัยการแพทย์มีหลักสูตร 5 ปี สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยเปิด เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

[สื่อสิ่งพิมพ์] สื่อส่วนใหญ่เป็นของเอกชนและดำเนินการตามกฎของตลาด สื่อไทยเป็นสื่อกระแสหลัก โดยมีสื่ออังกฤษและจีนเข้ามาเสริม สื่อไทยหลัก ได้แก่ "มติชน" "ไทยรัฐ" "ผู้จัดการ" "เดลินิวส์ " เป็นต้น สื่อภาษาจีนหลัก ได้แก่ "ตง ก๊วน มีเดีย "  " ตงฮั้วมีเดีย" "ซิงเสียนเยอะเป้า" "หนังสือพิมพ์เอเชียนิวส์ไทม์"  "เกียฮั้ว ตงง้วน รายวัน" และ "หนังสือพิมพ์สากล" สื่อภาษาอังกฤษหลัก ได้แก่ "บางกอกโพสต์" "เดอะเนชั่น" "โพสต์ทูเดย์" “ไทยพีบีเอส” เป็นต้น วิทยุประเทศไทยเป็นสถานีวิทยุของชาติที่มีแผนกภาษาต่างประเทศ ออกอากาศเป็นภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน มาเลย์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า ญี่ปุ่น และภาษาอื่นๆ สถานีโทรทัศน์ไร้สายทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และรายการทีวีส่วนใหญ่จะออกอากาศผ่านดาวเทียม เครือข่ายโทรทัศน์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ] ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ ให้ความสำคัญกับการทูตประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนบ้านและเป็นมิตรต่อกัน และรักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานความสัมพันธ์จีน-อาเซียนตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2558 ส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียนและการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ให้ความสำคัญกับการทูตทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการเปิดเสรีการค้า เป็นประเทศริเริ่มและส่งเสริมกลไก กรอบความร่วมมือเอเชีย Asia Cooperation Dialogue (ACD) มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)  การประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) องค์การการค้าโลก (WTO)  การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF)  งานประชุมเอเชียโป๋อ่าว หรือ Boao Forum for Asia (BFA)  ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคแม่โขง (GMS) และกลไกความร่วมมือพหุภาคี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอด “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง” ครั้งที่ 8 (ACMECS)  พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมุสลิมอย่างแข็งขัน แสวงหาบทบาทเชิงรุกในกิจการระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น การรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และความร่วมมือต่อต้านยาเสพติด ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม G77 ในปี 2559 ประธานหมุนเวียนของอาเซียนในปี 2562 และเป็นเจ้าภาพความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC) ในปี 2565


Suggest To A Friend:   
Print